ผู้เขียน หัวข้อ: โรคไต ตัวร้ายที่ไม่ได้มากับความเค็มเพียงอย่างเดียว  (อ่าน 448 ครั้ง)

siritidaphon

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 391
    • ดูรายละเอียด
“กินเค็มระวังเป็นโรคไต” ประโยคนี้หลายคนมักใช้เตือนคนที่ชอบรับประทานอาหารรสเค็ม แต่โรคไตไม่ได้เข้าโจมตีแต่ผู้ที่ทานรสเค็มเพียงอย่างเดียวเสียแล้ว เพราะโรคนี้สามารถเกิดจากสาเหตุอื่น ๆ ที่มาจากการใช้ชีวิตประจำวันของเราเองซึ่งส่งผลให้เราเป็นโรคร้ายนี้ได้ด้วยเช่นกัน ดังนั้นเรามาทำความรู้จักโรคนี้กันให้มากขึ้นดีกว่า

 
ทำความรู้จักโรคไต

อย่างที่เราทราบกันดีอยู่แล้วว่าไตมีหน้าที่กำจัดของเสีย ควบคุมความเป็นกรด-ด่างในกระแสเลือด ควบคุมความสมดุลของเกลือแร่ และควบคุมปริมาณน้ำในร่างกายอีกด้วย ดังนั้นเมื่อไตทำงานผิดปกติ หรือทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ จะทำให้เกิดภาวะเลือดจางและขาดวิตามินได้ โดยโรคร้ายนี้มีอยู่หลายชนิด และที่พบได้บ่อย ได้แก่ กรวยไตอักเสบ ไตอักเสบ นิ่วในไต ไตเรื้อรัง และไตวาย

 
โรคไต ชื่อคุ้นหูแต่สาเหตุไม่คุ้นตา

โรคนี้อาจมีความเข้าใจผิด ๆ ว่าเลี่ยงทานเค็มเท่ากับเลี่ยงโรคไต ทั้งนี้ในความเป็นจริงแล้วยังมีสาเหตุต่าง ๆ อีกมากมาย โดยสาเหตุของการเกิดโรคนี้ ได้แก่

    จากพันธุกรรม โดยอาจเป็นมาตั้งแต่กำเนิดหรือค่อย ๆ แสดงอาการในภายหลังก็ได้
    เกิดจากโรคอื่นที่มีผลกระทบกับไต เช่น ความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน เป็นต้น
    การทานอาหารรสจัดไม่ใช่เพียงแค่รสเค็ม รวมไปถึงหวานจัด หรือเผ็ดจัดด้วยเช่นกัน
    ดื่มน้ำน้อยเกินไป
    ไม่ออกกำลังกาย
    มีความเครียด

 
โซเดียมสูงเสี่ยงไต

โซเดียม คือเกลือแร่ชนิดหนึ่งที่มีเป็นสารอาหารที่มีความจำเป็นต่อร่างกาย แต่หากรับประทานเข้าไปในปริมาณมากอาจจะทำให้เป็นสาเหตุของการเกิดโรคไต เพราะปริมาณโซเดียมที่มากจะทำให้ไตไม่สามารถขับโซเดียมออกไปได้จนเกิดการสะสมไว้ในเลือด เมื่อมีโซเดียมมากไตก็จะยิ่งทำงานหนักผลที่ตามมาคือ ในหน่วยไตจะเกิดความดันสูงขึ้นจนเกิดการรั่วของโปรตีนในปัสสาวะและนำพาไปสู่ภาวะไตเสื่อมในที่สุด พูดมาถึงจุดนี้หลายคนอาจจะพยายามหลีกเลี่ยงอาหารที่มีโซเดียมสูงจำพวกน้ำปลา และเกลือ แต่ในความเป็นจริงแล้วโซเดียมยังอยู่ในอาหารอีกหลายรูปแบบ ได้แก่

    เครื่องปรุงรส เช่น ซอสพริก ซอสมะเขือเทศ น้ำจิ้มสุกี้
    อาหารแปรรูป เช่น เบคอน แฮม ผักกาดดอง ผลไม้กระป๋อง และไข่เค็ม
    อาหารกึ่งสำเร็จรูป

 
อาการของโรคไต

เนื่องจากไตเป็นอวัยวะที่ไม่สามารถซ่อมแซมตัวเองให้กลับมาสมบูรณ์ได้ การเกิดความผิดปกติกับไตจึงเป็นเรื่องอันตราย โดยในช่วงแรกผู้ป่วยโรคไตแทบจะไม่มีสัญญาณของโรคร้ายนี้เลย แต่อาการจะปรากฏออกมาในระยะท้าย ๆ ที่ไตได้รับความเสียหายไปมากแล้ว จนในระดับสูงสุดอาจเกิดอาการไตวาย และเสียชีวิตได้ อาการของผู้ป่วยโรคไตที่ปรากฏมีดังนี้

    อ่อนเพลีย ไม่มีแรง
    ปัสสาวะผิดปกติ เช่น มีกลิ่นผิดปกติ มีสีผิดปกติ เป็นต้น
    ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน
    มีอาการเบื่ออาหาร
    ตัวบวมเนื่องจากมีน้ำและเกลือในร่างกายปริมาณมาก
    ปวดหลัง ปวดบั้นเอว

 
ผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคไต

    มีโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน ความดัน โรคเกาต์ เป็นต้น
    มีมวลไตลดลง
    มีความดันโลหิตสูง
    คนในครอบครัวมีประวัติการเป็นโรคไต
    อายุมากกว่า 60 ปี

 
การรักษาโรคไต

    รักษาตามอาการ เช่น การรับประทานยา และควบคุมความดันโลหิตให้เหมาะสม ลดพฤติกรรมเสี่ยง เช่น การสูบบุหรี่ และหลีกเลี่ยงยาบางประเภท
    รักษาด้วยวิธีการบำบัดทดแทนไต ใช้รักษาผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังเพื่อช่วยขจัดของเสียทดแทนไตที่เสียไป สามารถทำได้ 3 วิธี ดังนี้

                - การฟอกเลือด เพื่อทำให้เลือดสะอาดโดยใช้ระยะเวลา 4-5 ชั่วโมง 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์

                - การฟอกไตผ่านทางช่องท้อง อาศัยช่องท้องในการฟอกเลือด โดยจะฟอกวันละ 4 รอบ

                - การปลูกถ่ายไต โดยการนำไตจากผู้บริจาคใส่เชิงกรานของผู้รับไต

การจัดการโภชนาการอาหารในแต่ละวันเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งเพื่อร่างกายที่แข็งแรง ปราศจากโรคภัยมาเบียดเบียน และสิ่งที่สำคัญไม่แพ้การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ คือการตรวจสุขภาพไตอย่างสม่ำเสมอเพื่อรู้เท่าทันโรคไตที่อาจเกิดขึ้นโดยที่เราไม่รู้ตัวนั่นเอง


โรคไต ตัวร้ายที่ไม่ได้มากับความเค็มเพียงอย่างเดียว อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://doctorathome.com/disease-conditions/298